กิจกรรม 15 - 19 พฤศจิกายน 2553 ( 90 คะแนน ) ส่่งงานได้ถึง 28 พฤศจิกายน 2553



ตอบข้อที่2
สืบค้นข้อมูล
ดาวศุกร์ เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 ชื่อละตินของดาวศุกร์ (Venus) มาจากเทพีแห่งความรักของโรมัน ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์หิน มีขนาดใกล้เคียงกับโลก บางครั้งเรียกว่า "น้องสาว" ของโลก แม้ว่าวงโคจรของดาวเคราะห์ทุกดวงจะเป็นวงรี วงโคจรของดาวศุกร์จัดว่าเกือบเป็นวงกลม มีความเยื้องศูนย์กลาง (ความรี) น้อยที่สุด
สำหรับวัตถุในธรรมชาติ ดาวศุกร์เป็นวัตถุท้องฟ้าที่สว่างที่สุดเป็นลำดับที่ 3 รองจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ เนื่องจากดาวศุกร์มีวงโคจรใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก จึงมีมุมห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 47.8° มองเห็นได้เฉพาะในเวลาเช้ามืดหรือหัวค่ำเท่านั้น ขณะปรากฏในท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก เรียกว่า "ดาวประจำเมือง" และเมื่อปรากฏในท้องฟ้าเวลาเช้ามืดทางทิศตะวันออก เรียกว่า "ดาวประกายพรึก" หรือ "ดาวรุ่ง"
ชาวบาบิโลนโบราณรู้จักดาวศุกร์มาตั้งแต่ราว 1,600 ปีก่อนคริสตกาล แต่เชื่อว่าด้วยความสว่างสุกใสของดาวศุกร์ น่าจะเป็นที่รู้จักมาก่อนหน้านั้นนานแล้วนับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สัญลักษณ์แทนดาวศุกร์ คือ ♀
ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A8%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%8C


ตอบข้อ2
สืบค้นข้อมูล ฮีเลียม(Helium)เป็นธาตุเคมีที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส และเป็นหนึ่งในก๊าซเฉื่อยหรือก๊าซมีตระกูลใน ตารางธาตุ มีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวที่ต่ำที่สุดในกลุ่มธาตุ มีสถานะเป็นแก๊สอย่างเดียว ยกเว้นในสภาพพิเศษ เป็นธาตุที่มีเลขอะตอม 2 ในเอกภพ บนโลกพบมากที่สุดในแก๊สธรรมชาติ นำไปใช้ในอติสีตศาสตร์ (วิชาความเย็นยิ่งยวด (cryogenics)) ในระบบการหายใจสำหรับทะเลลึก ในการเติมใส่ลูกโป่ง และเป็นก๊าซที่ใช้ ในการป้องกันหลาย วัตถุประสงค์ ฮีเลียมไม่มีพิษและไม่ปรากฏผลทางชีววิทยา
ที่มา  http://student.mahidol.ac.th/~u4903013/



ตอบข้อที่4
สืบค้นข้อมูลดาวนิวตรอน (อังกฤษ: Neutron star) เป็นซากที่เหลือจากยุบตัวของการระเบิดแบบซูเปอร์โนวาชนิด II,Ib หรือ Ic และจะเกิดเฉพาะดาวฤกษ์มวลมากมีส่วนประกอบเพียงนิวตรอนที่อะตอมไร้กระแสไฟฟ้า (นิวตรอนมีมวลสารใกล้เคียงโปรตอน) และดาวประเภทนี้สามารถคงตัวอยู่ได้ด้วยกฎของเพาลีเกี่ยวกับแรงผลักระหว่างนิวตรอน
ที่มา  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%99



ตอบข้อที่4
สืบค้นข้อมูล ความสว่างของดาวฤกษ์บอกได้จากตัวเลขที่ไม่มีหน่วยที่เรียกว่า อันดับความสว่าง หรือ แมกนิจูด ( Magnitude ) ของดาวที่มีอันดับความสว่างต่างกัน 1 จะสว่าสงมากกว่ากัน 2 เท่าครึ่ง ดดยอันดับความสว่างทีีเป็นบวกหรือตัวเลขมาก ๆ จะมีความสว่างน้อย ๆ เช่นดาวที่มีอันดับความสว่าง - 1 จะมีความสว่างมากกว่าดาวฤกษ์ที่มีความสว่าง 1
ที่มา http://www.sopon.ac.th/science/unchalee-v/page%2003%20sec%2001.htm




ตอบข้อที่1
สืบค้นข้อมูล
ปีแสง คือ หน่วยของระยะทางในทางดาราศาสตร์ 1 ปีแสง เท่ากับระยะทางที่แสงเดินทางในเวลา 1 ปี จากอัตราเร็วแสงที่มีค่า 299,792.458 กิโลเมตร/วินาที ระยะทาง 1 ปีแสงจึงมีค่าประมาณ 9.4607×1012 กิโลเมตร = 63,241.077 หน่วยดาราศาสตร์ = 0.30660 พาร์เซก เนื่องจากเอกภพมีขนาดมหึมา แสงจากวัตถุท้องฟ้าที่อยู่ไกลจึงใช้เวลาหลายปีกว่าจะเดินทางมาถึงเรา นั่นหมายความว่าเราเห็นอดีตของวัตถุนั้นอยู่ตลอดเวลา
ปีแสงใช้เพื่อวัดระยะทางระหว่างดาราจักร และไม่ใช่หน่วยวัดเวลา หนึ่งปีแสงมีค่าที่แน่นอนโดยใช้ตัวเลขปีจูเลียน (365.25 วัน) มาคำนวณซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล[1] คือ 9,460,730,472,580.8 กิโลเมตร
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%87



ตอบข้อที่2
สืบค้นข้อมูล จากครั้งที่แล้วเราพูดถึงเรื่องโลกแตก ทำให้อารมณ์ของผมยังค้างอยู่ ว่าทำไมมันถึงได้น่ากลัวอะไรเช่นนี้ คราวนี้ผมจะขอพูดถึงเรื่องการระเบิดซุปเปอร์โนวา ที่มีแรงมหาศาลที่เป็นทั้งจุดเิริ่มและจุดจบของมวลมนุษยชาติเลยก็ว่าได้ เพราะมีอนุภาพที่โหดร้ายและรุนแรง พอๆกับบิกแบง หรือ การระเบิดครั้งยิ่งใหญ่ของโลกบิกแบง ที่เราเคยพูดไปแล้ว ถ้าอยากรู้ตื้นลึกหนาบางก็ค้นในกล่องค้นหา หรือคลิกลิ้งค์บิกแบงเลยก็ได้นะครับ
ที่มา http://www.changsunha.com/index.php/science/supernovae/




ตอบข้อที่2
สืบค้นข้อมูล   นักวิทยาศาสตร์พบว่าสีของดาวฤกษ์มีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิพื้นผิวของดาวฤกษ์นั้นๆ โดยดาวฤกษ์ที่มีอุณหภูมิพื้นผิวต่ำ จะมีสีแดง ส่วนดาวฤกษ์ที่มีอุณภูมิพื้นผิวสูงจะมีสีน้ำเงิน นอกจากนี้ในกรณีที่ดาวฤกษ์นั้นไม่ใช่ดาวยักษ์ ขนาดของดาวฤกษ์ก็จะเกี่ยวข้องกับสีของดาวเช่นกัน โดยดาวฤกษ์มวลมากจะมีสีน้ำเงิน ส่วนดาวฤกษ์มวลน้อยจะมีสีแดง
ที่มา http://www.thaigoodview.com/node/16180


ตอบข้อที่3
สืบค้นข้อมูล  ความสว่างของดาวฤกษ์บอกได้จากตัวเลขที่ไม่มีหน่วยที่เรียกว่า อันดับความสว่าง หรือ แมกนิจูด ( Magnitude ) ของดาวที่มีอันดับความสว่างต่างกัน 1 จะสว่าสงมากกว่ากัน 2 เท่าครึ่ง ดดยอันดับความสว่างทีีเป็นบวกหรือตัวเลขมาก ๆ จะมีความสว่างน้อย ๆ เช่นดาวที่มีอันดับความสว่าง - 1 จะมีความสว่างมากกว่าดาวฤกษ์ที่มีความสว่าง 1
ที่มา  http://www.sopon.ac.th/science/unchalee-v/page%2003%20sec%2001.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น